“ระบบบำบัดอากาศอัด” เป็นระบบที่มีความสำคัญในการช่วยสร้างอากาศที่สะอาด ปราศจากความชื้นและสิ่งเจือปนต่าง ๆ ให้แก่เครื่องอัดอากาศ หรือเครื่องปั๊มลม (Air Compressor) ที่ใช้ในกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่าประเภทระบบบำบัดอากาศอัด มีอะไรบ้าง? และมีกลไกในการทำงานอย่างไร? เราจะขอพาคุณไปทำความรู้จักกับ ระบบบำบัดอากาศอัด Refrigerated Air Dryer & Adsorption Desiccant Air Dryer ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน และดูว่าทั้ง 2 ประเภทนั้นมีกลไกการทำงาน และความแตกต่างกันอย่างไร? ตามไปหาคำตอบกันเลย
ระบบบำบัดอากาศอัด (Air Dryer) คืออะไร?
ระบบบำบัดอากาศอัด (Air Dryer) คือระบบที่ใช้ติดตั้งในท่อส่งอากาศในเครื่องปั๊มลม หรือที่เรียกว่าท่อส่งอากาศอัด ซึ่งเป็นท่อที่ดูดเอาอากาศจากภายนอก ที่มีทั้งฝุ่นละออง คราบน้ำมัน และสิ่งเจือปนต่าง ๆ มาบำบัด ก่อนส่งไปยังเครื่องอัดอากาศ เพื่อช่วยให้อากาศในเครื่องอัดอากาศมีความบริสุทธิ์ และช่วยให้ได้ลมที่แห้ง ไม่มีความชื้น หรือสิ่งเจือปน ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยให้กระบวนการผลิตสะอาดได้มาตรฐาน ยังจะช่วยป้องกันการเกิดสนิมและการกัดกร่อนที่อาจเกิดขึ้นในเครื่องจักรผ่านระบบอากาศอัดได้อีกด้วย
ประเภทของระบบบำบัดอากาศอัด มีกี่แบบ
สำหรับใครที่สงสัยว่าระบบบำบัดอากาศอัดที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไปมีกี่แบบ ต้องบอกว่าประเภทระบบบำบัดอากาศอัดที่ใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ แบบใช้น้ำยาทำความเย็น (Refrigerated Air Dryer) และแบบใช้เม็ดสารดูดความชื้น (Adsorption Desiccant Air Dryer) ซึ่งเราจะมาบอกหลักการทำงานของระบบบำบัดอากาศทั้งสองประเภทให้ได้รู้กันต่อไป
แบบใช้น้ำยาทำความเย็น (Refrigerated Air Dryer)
ระบบบำบัดอากาศอัดแบบใช้น้ำยาทำความเย็น มีหลักการทำงาน ดังนี้
- เครื่องอัดอากาศจะส่งลมไปยังระบบบำบัดอากาศอัด
- ลมที่เข้ามาจะถูกแลกเปลี่ยนอุณหภูมิกับน้ำยาทำความเย็นที่สามารถทำค่าจุดน้ำค้าง (Dew point) ที่ 2 ถึง 10 องศาเซลเซียส
- เมื่ออุณหภูมิของลมลดต่ำลง ความชื้นในลมจะกลั่นตัวออกเป็นน้ำ และถูกระบายทิ้งออกจากเครื่อง
- หลังจากนั้นจึงส่งลมที่ผ่านการบำบัดแล้ว เข้าสู่กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม
ข้อดี
- มีขนาดให้เลือกใช้งานได้อย่างหลากหลาย ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่
- มีต้นทุนค่าติดตั้งที่ถูกกว่า
- ช่วยประหยัดพลังงาน ลดต้นทุนในกระบวนการผลิต
ข้อจำกัด
- ลมที่ออกมายังคงหลงเหลือความชื้นอยู่ ไม่เหมาะกับโรงงานที่ต้องการลมที่มีความแห้งและสะอาดเป็นพิเศษ รวมถึงเมื่อถูกส่งผ่านไปตามท่อ อาจเกิดการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำหรือไอน้ำ ทำให้เครื่องจักรเกิดความเสียหายได้
ดังนั้น ระบบบำบัดอากาศอัดแบบใช้น้ำยาทำความเย็น จึงเหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป ที่ต้องการลมแห้งที่มีความสะอาดระดับปานกลางนั่นเอง
แบบใช้เม็ดสารดูดความชื้น (Adsorption Desiccant Air Dryer)
ระบบบำบัดอากาศอัดแบบใช้เม็ดสารดูดความชื้น มีหลักการทำงาน ดังนี้
- ลมที่ได้จากเครื่องอัดอากาศจะถูกส่งผ่านไปยังระบบบำบัดอากาศอัดที่มีเม็ดสารดูดความชื้นอยู่ภายใน
- เม็ดสารดูดความชื้นที่สามารถทำค่าจุดน้ำค้าง (Dew point) ได้ถึง -40 ถึง -70 องศาเซลเซียส
- ช่วยกลั่นและดูดความชื้นออกจากลมได้ถึง 99%
- ลมแห้งที่ได้บางส่วนจะถูกส่งไปยังกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม
- ลมแห้งบางส่วนจะถูกส่งผ่านไปยังเม็ดสารดูดความชื้นที่อิ่มตัวเพื่อฟื้นฟูสภาพโดยการไล่ความชื้นออก
ข้อดี
- สามารถทำความแห้งของลมได้มากถึง 99%
- สามารถใช้งานที่ความดันสูง
- อุณหภูมิทางเข้าสูงสุด 70 องศาเซลเซียสได้
- ออกแบบและติดตั้งง่าย
- ช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้า
- ง่ายต่อการบำรุงรักษา
ข้อจำกัด
- มีต้นทุนค่าติดตั้งสูงกว่า
- จำเป็นต้องเปลี่ยนสารดูดความชื้นทุก 3-5 ปี
ดังนั้น ระบบบำบัดอากาศอัดแบบใช้เม็ดสารดูดความชื้น จึงเหมาะกับอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ หรืออุตสาหกรรมต้องการลมที่มีความแห้งสะอาดเป็นพิเศษ
วิธีการเลือกใช้งานระบบบำบัดอากาศอัดอย่างเหมาะสม
1.เลือกขนาดให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรม
ควรเลือกให้มีขนาดที่เหมาะสมกับอัตราการผลิตและการใช้ลมของแต่ละอุตสาหกรรม โดยให้เลือกระบบบำบัดอากาศอัดที่มีขนาดใหญ่กว่าเครื่องอัดอากาศที่ใช้อยู่เล็กน้อย เพื่อคงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต
2.เลือกจากคุณสมบัติของตัวเครื่อง
ควรเลือกจากคุณสมบัติต่าง ๆ ของตัวเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการดูดความชื้น ทำความแห้งและความสะอาดของลม ความแข็งแรงทนทานของเครื่องจักรในระบบ เพื่อให้ได้ระบบบำบัดอากาศอัดที่ใช้งานได้ดี และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
3.เลือกจากผู้ผลิตที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
ปัจจัยสำคัญในการเลือกระบบบำบัดอากาศอัด คือควรเลือกออกแบบและติดตั้งกับบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญ และมีทีมงานที่มีความเป็นมืออาชีพ เพื่อที่จะได้มั่นใจว่าระบบที่สำคัญนี้จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำปรึกษาในการใช้งานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
เมื่อผู้ประกอบการได้เห็นความแตกต่างของระบบบำบัดอากาศอัดกันไปแล้ว และต้องการหาระบบบำบัดอากาศอัดมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมของตนเอง Domnick คือตัวแทนจำหน่ายและติดตั้งระบบบำบัดอากาศอัดจากแบรนด์ชั้นนำของประเทศอังกฤษซึ่งมีประสบการณ์มาแล้วกว่า 30 ปี มีบริการหลังการขายคุณภาพสูง ทั้งอะไหล่ และบริการซ่อมบำรุง รวดเร็วภายใน 48 ชั่วโมง ตลอดจนการตรวจเช็กอุปกรณ์ให้ลูกค้าทุก ๆ 6 เดือน โดยวิศวกรผู้ชำนาญงาน เพื่อให้ระบบบำบัดอากาศอัดของคุณมีคุณภาพและคุ้มค่าสูงสุดทุกการลงทุน
ข้อมูลอ้างอิง
- 1. WHAT ARE THE DIFFERENT TYPES OF COMPRESSED AIR DRYERS?. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2566 จาก https://expressau.com/news/what-are-the-different-types-of-compressed-air-dryers/