รู้จักละอองน้ำมันคืออะไร มีวิธีกำจัดละอองน้ำมันอย่างไร (1)

ในฐานะของผู้ประกอบการทางด้านอุตสาหกรรม หนึ่งสิ่งที่ถือเป็นความรับผิดชอบหลักนั่นคือการลดทอนมลภาวะทางน้ำและอากาศให้มากที่สุด เพื่อเป็นการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่ง “น้ำเสีย” จัดได้ว่าเป็นหนึ่งในมลภาวะที่รุกรานความเป็นอยู่ของคนและสัตว์มากที่สุดในปัจจุบันนี้

ลองมาสำรวจแนวทางในการควบคุมคุณภาพน้ำจากโรงงาน และอันตรายจากสารปนเปื้อนในน้ำที่มาจากกายภาพ ชีวภาพ และสารเคมี ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หากไม่มีระบบดูแลที่ดีมากพอ

ความสำคัญของระบบควบคุมคุณภาพน้ำ ด่านป้องกันอันตรายจากสารปนเปื้อน

หนึ่งในผลกระทบอย่างรุนแรงที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม นั่นคือ “น้ำเสีย” ที่มีอันตรายจากสารปนเปื้อนในน้ำ เพราะไม่ได้ผ่านระบบควบคุมคุณภาพน้ำที่ได้มาตรฐาน เนื่องจากกระบวนการดังกล่าวจะเป็นการติดตามผลของน้ำที่ผ่านระบบบำบัดน้ำเสีย น้ำทิ้ง และควบคุมค่าสารมลพิษ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายและหลักเกณฑ์ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกำหนด

ดังนั้น ในขอบเขตความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ ควรจะต้องดำเนินการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้มาตรฐาน และควรใส่ใจในขั้นตอนการควบคุมคุณภาพน้ำให้ดี ก่อนที่จะปล่อยออกไปสู่นิคมอุตสาหกรรม หรือแหล่งน้ำสาธารณะและแหล่งชุมชน เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขลักษณะของสิ่งมีชีวิต

ประโยชน์ที่ได้จากการบำบัดและตรวจสอบคุณภาพน้ำ

ได้ทราบถึงคุณภาพของน้ำหลังกระบวนการผลิต
ประโยชน์ข้อแรกที่ได้คือ การรับทราบถึงคุณสมบัติของน้ำที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยตาเปล่า ทำให้สามารถนำไปวิเคราะห์ถึงสิ่งเจือปน สารมลพิษ และเชื้อโรค แบคทีเรียต่าง ๆ ได้อย่างละเอียด เพื่อควบคุมน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้ยังเป็นการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียที่กำลังใช้งานได้อีกด้วย

  • บอกถึงแหล่งมลพิษหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำเสีย

นอกเหนือจากการตรวจสอบคุณภาพน้ำ จะทำให้ทราบถึงแนวโน้มและต้นตอความอันตรายจากสารปนเปื้อนในน้ำได้แล้ว กระบวนการดังกล่าวยังทำให้ได้เห็นค่าพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงแหล่งของมลพิษหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมได้อย่างเที่ยงตรง เช่น น้ำเสียที่มาจากสารเคมี จะพบค่า COD (Chemical Oxygen Demand) หรือค่า BOD (Biological Oxygen Demand) สูงเกินไป แสดงว่ามีข้อผิดพลาดมาจากกระบวนการผลิต ทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารอินทรีย์หรือสารเคมีสูงในน้ำนั่นเอง

  • ช่วยวางแผนวิธีการบำบัดน้ำเสียและปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดียิ่งขึ้น

แน่นอนว่าประโยชน์ข้อสุดท้ายจากการควบคุมคุณภาพน้ำที่ได้มาตรฐานนั่นคือ ข้อได้เปรียบด้านการนำไปใช้ปรับปรุงและวางแผนแนวทางการบำบัดน้ำเสีย เพื่อยกระดับที่เป็นไปตามเกณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับลักษณะของการปนเปื้อนในน้ำจากโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ๆ อาทิ น้ำทิ้งจากโรงงานมักตรวจพบปัญหาจากชีวภาพเป็นหลัก โรงงานจะต้องวางแผนและเปลี่ยนระบบลดแบคทีเรียหรือระบบฆ่าเชื้อโรคในน้ำที่ได้มาตรฐานมากกว่าเดิม โดยเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์และนวัตกรรมที่เหมาะสม อาทิ เทคโนโลยี Ultra Violet ที่ช่วยลดแบคทีเรียในน้ำและสารเคมีสำหรับระบบลดแบคทีเรียในน้ำโดยเฉพาะ เป็นต้น

อันตรายจากสารปนเปื้อนในน้ำที่ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรม

ประเภทการบำบัดและตรวจสอบคุณภาพน้ำ

  • การบำบัดและตรวจสอบทางกายภาพ

ในส่วนของการบำบัดน้ำทางกายภาพ เป็นการแยกเอาของเสีย เช่น ของแข็ง กระดาษ พลาสติก เศษอาหาร ไขมัน และน้ำมัน ออกจากน้ำ โดยใช้อุปกรณ์เฉพาะที่ช่วยกรองออกเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยลดปริมาณสิ่งเจือปนที่มีในน้ำทิ้งได้อย่างมั่นใจ

สำหรับการตรวจสอบคุณภาพน้ำทางกายภาพ หลังผ่านระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อกรองเอาสิ่งเจือปนออก ขั้นตอนนี้จะใช้วิธีสังเกตคุณลักษณะของน้ำเป็นหลัก ทั้งการสูดดมกลิ่น การตักน้ำตัวอย่าง เพื่อนำไปทดสอบสี กลิ่น อุณหภูมิ ความขุ่น และความโปร่ง เพื่อให้ได้ค่าที่แม่นยำว่าน้ำทิ้งจะปลอดจากสิ่งเจือปนจริง ๆ

  • การบำบัดและตรวจสอบทางชีวภาพ

ในส่วนของบำบัดน้ำทางชีวภาพ จะเป็นการใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดสิ่งเจือปนในน้ำเสียโดยเฉพาะสารคาร์บอนอินทรีย์ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส เพื่อทำให้น้ำเสียมีค่าความสกปรกลดลง โดยจุลินทรีย์เหล่านี้อาจเป็นแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic Organisms) หรือไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Organisms) ก็ได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้อุปกรณ์เพิ่มเติม เสริมประสิทธิภาพให้ระบบลดแบคทีเรียและเชื้อโรคในน้ำ ให้ได้ผลลัพธ์ความบริสุทธิ์ได้มากที่สุด

สำหรับการตรวจสอบคุณภาพน้ำทางชีวภาพ จะเป็นการเก็บตัวอย่างและใช้ความชำนาญ รวมถึงเครื่องมือเข้ามาช่วยตรวจสอบอย่างละเอียด เพื่อหาปริมาณเชื้อแบคทีเรียที่เจือปน แล้วนำส่งไปตรวจสอบที่ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อย่างละเอียด เพื่อที่จะได้ผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทางชีวภาพที่แม่นยำและละเอียด

  • การบำบัดและตรวจสอบทางเคมี
ระบบฆ่าเชื้อโรคในน้ำ ช่วยลดอันตรายจากสารปนเปื้อนในน้ำ

ปิดท้ายด้วยการบำบัดน้ำเสียโดยกระบวนการทางเคมี เพื่อทำปฏิกิริยากับสิ่งเจือปนในน้ำที่เป็นประเภทสารมลพิษ โดยจะใช้กับน้ำทิ้งที่มีส่วนประกอบของค่า pH ที่สูงหรือต่ำเกินไป หรือมีของแข็งแขวนลอย ตกตะกอนยาก และเชื้อโรคเจือปน

โดยการตรวจสอบหลังการบำบัดว่าจะสามารถกำจัดสารมลพิษได้หรือไม่ จะเป็นการเก็บน้ำตัวอย่างไปใช้กับ Test Kit เพื่อใส่สารเคมีลงไปตรวจสอบน้ำ และนำไปเทียบสีกับแผ่นวัดผล ซึ่งวิธีนี้จะช่วยค้นหาความเป็นกรดด่างของน้ำได้ดี นอกจากยังต้องส่งไปที่ห้องตรวจปฏิบัติการ เพื่อทำการวัดค่าต่าง ๆ ให้ได้ตามมาตรฐานกำหนด เช่น

  • ค่า BOD (Biological Oxygen Demand) ค่าวัดปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ ต้องไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อลิตร
  • ค่า COD (Chemical Oxygen Demand) ค่าวัดปริมาณออกซิเจนที่สารเคมีใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ต้องไม่เกิน 120 มิลลิกรัมต่อลิตร
  • ค่าของแข็งในน้ำชนิดต่าง ๆ เช่น ค่าของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (TDS) กรณีระบายลงแหล่งน้ำต้องไม่เกิน 3,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าของแข็งแขวนลอยทั้งหมด (TSS) ต้องไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อลิตร

นอกจากนี้ยังมีการตรวจหาค่าสารประกอบชนิดอื่น ๆ อย่างค่าไนโตรเจน และค่าโลหะหนักทั้งแบบมีพิษและไม่มีพิษ ทั้งนี้ค่ามาตรฐานอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม หรือประเภทของแหล่งรองรับน้ำทิ้ง โดยค่ามาตรฐานต่าง ๆ เหล่านี้ขึ้นตรงกับคุณภาพน้ำทิ้งที่นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสิ่งมีชีวิตในละแวกใกล้เคียง ที่ต้องรับความเสี่ยงของอันตรายจากสารปนเปื้อนในน้ำที่ใช้กินอยู่อีกด้วย

ตัวอย่างของอันตรายจากสารปนเปื้อนในน้ำ

อันตรายจากสารปนเปื้อนในน้ำสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งต้นเหตุจากสารพิษ โลหะหนัก และเชื้อจุลินทรีย์ชนิดก่อโรค ซึ่งมาจากระบบบำบัดและควบคุมคุณภาพน้ำที่ไม่ได้มาตรฐาน จนทำให้เกิดการเจือปน ทั้งในเคสของน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนการผลิตน้ำดื่มที่ไม่ได้ใช้ระบบลดแบคทีเรียในน้ำให้เหมาะสม และนี่คือตัวอย่างของสารและเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคจากการปนเปื้อนในน้ำ ได้แก่

  • สารตะกั่ว โลหะหนักที่เป็นพิษทั้งต่อคนและสัตว์ รวมถึงส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ทำให้มีความดันสูง ทำลายระบบสืบพันธุ์ เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ชัก เบื่ออาหาร ท้องผูก และเซื่องซึมได้
  • สารปรอท สารปนเปื้อนในน้ำชนิดโลหะพิษที่มาในรูปแบบของเหลว ส่งผลกระทบต่อร่างกายของคนและสัตว์อย่างรุนแรง โดยแบ่งเป็นสองลักษณะ ได้แก่
    • ภาวะเฉียบพลัน ทำให้มีไข้ หายใจลำบาก อาเจียน น้ำลายฟูมปาก และมีภาวะไตวาย ถ่ายเป็นเลือก ร่างกายชัก กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวผิดปกติได้
    • ภาวะเรื้อรัง เป็นอาการที่ร่างกายมีการสะสมของสารปรอทมานาน เกิดพิษทางสมอง ไต และผิวหนัง ปวดปลายมือปลายเท้า มีอาการปวดศีรษะ หงุดหงิด ลืมง่าย มีอาการโรคปริทันต์ เลือดจาง ไปจนถึงอาการหลอนได้ด้วย
  • โคลิฟอร์ม (Coliform bacteria) สารปนเปื้อนกลุ่มแบคทีเรียแกรมลบ สามารถเติบโตได้ในที่ที่มีอากาศและไม่มีอากาศ พบได้จากหลายแหล่ง และการเจือปนในน้ำก็เป็นหนึ่งในนั้น ซึ่งผลกระทบจะทำให้มีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่ มีไข้ ปวดท้อง และท้องเสีย
  • อีโคไล (E.coli / Escherichia coli) อีกหนึ่งสารปนเปื้อนกลุ่มแบคทีเรีย เป็นกลุ่มเดียวกับโคลิฟอร์ม ทำให้มีลักษณะอาการติดเชื้อคล้ายคลึงกัน คือมีไข้ ท้องเสีย ท้องอืด เพิ่มเติมคืออาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และอ่อนเพลียร่วมกัน

ร่วมรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมั่นใจ ด้วยโซลูชันการบำบัดน้ำเสียและฆ่าเชื้อในอุตสาหกรรมจาก Domnick ผู้จำหน่ายอุปกรณ์สำหรับระบบบำบัดน้ำเสียนำเข้าจากต่างประเทศในนามของบริษัท ดอมนิค ฮันเตอร์-อาร์แอล พร้อมบริการรับติดตั้ง วางระบบลดแบคทีเรียในน้ำและระบบฆ่าเชื้อโรคในน้ำ รวมถึงสารปนเปื้อนต่าง ๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม ภายใต้การดูแลของวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยที่ LINE ID: @Domnick หรือโทร. 02 678 2224

ข้อมูลอ้างอิง

1. Types of Drinking Water Contaminants. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567 จาก https://www.epa.gov/ccl/types-drinking-water-contaminants#:~:text=The%20Safe%20Drinking%20Water%20Act,substance%20or%20matter%20in%20water.

2. What Industries Are Usually Responsible for Water Contamination?. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567 จาก https://www.jcdelaw.com/2022/01/24/industries-responsible-for-water-contamination/

3. อันตรายจากสารปนเปื้อนในน้ำดื่ม. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567 จาก http://www.chulazerowaste.chula.ac.th/contaminants-in-drinking-water/

4. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงาน พ.ศ. 2560 http://reg3.diw.go.th/diw_info/wp-content/uploads/m.94-9.pdf