เทคโนโลยีฉายแสงรังสี เพื่อฆ่าเชื้อไวรัสในกระบวนการเพาะเลี้ยงกุ้ง
กุ้ง ถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจอย่างหนึ่งของประเทศไทยเรา เพราะคนไทยมีความนิยมบริโภคกุ้งกันเป็นอย่างมาก มีเมนูดังหลายเมนูที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้กุ้งเป็นวัตถุดิบหลักโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น ต้มยำกุ้ง กุ้งซอสมะขาม กุ้งอบวุ้นเส้น กุ้งแช่น้ำปลา ฯลฯ ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคสุกหรือดิบ ก็เป็นรายการเมนูยอดนิยมทั้งสิ้น

เพราะฉะนั้นอุตสาหกรรมเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจึงต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ตอบโจทย์กับผู้บริโภค ทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณการผลิต แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีเชื้อไวรัสที่คุกคามอุตสาหกรรมเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งต้องเผชิญกับความสูญเสียทางเศรษฐกิจ โดยองค์การอนามัยโลกได้ออกมาแจ้งเตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งถึงไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในกุ้ง และส่งผลกระทบต่อเกษตรกรด้วยกัน 5 ชนิด

  • โรคแคระแกร็น (Infectious hypodermal & hematopoietic necrosis virus ; IHHNV) กุ้งทะเลที่ป่วยมักพบอาการ แคระแกร็น การเจริญเติบโตลดลง กรีโค้งงอ หนวดกุ้งเปราะ หงิกงอ เนื้อกุ้งไม่เต็มเปลือก และลำตัวผิดรูป อัตราการตายต่ำและกุ้งจะมีขนาดแตกต่างกนมาก
  • โรคหัวเหลือง (Yellow head virus ;  YHV) กุ้งทะเลทที่ป่วยมักพบรอยโรคที่ส่วนหัวมีสีเหลือง เนื่องจากเหงือกตับและตับอ่อนมีสีซีดเหลือง และทำใหํ ้กุ้งทะเลตายอย่างรวดเร็ว
  • โรคทอราซินโดรม หรือโรคทีเอส (Taura syndrome virus ; TSV) กุ้งทะเลที่ป่วยมักพบสีของลำตัวเป็นสีแดง โดยเฉพาะเปลือกบริเวณแพนหาง รยางค์และอาจตายได้ ถ้ากุ้งป่วยแต่ไม่ตายในระยะต่อมาจะปรากฎรอยโรคสีดำมีรูปร่างไม่แน่นอนที่บริเวณเปลือก
  • โรคจุดขาว (White spot syndrome virus ; WSSV) กุ้งทะเลที่ป่วยมักพบรอยโรคเป็นจุดขาวหรือดวงขาวใต้เปลือก ส่วนหัว ตัว และโคนหาง บางครั้งลำตัวมีสีแดงด้วย และทำให้กุ้งตายอย่างรวดเร็ว
  • โรคกล้ามเนื้อตาย (Infectious myonecrosis virus ; IMNV) กุ้งทะเลที่ป่วยจะมีลักษณะของกล้ามเนื้อสีขาวขุ่นบริเวณปล้องสุดท้ายของลําตัวติดกับแพนหาง และอาจจะลุกลามมายังกล้ามเนื้อลําตัวส่วนอื่น เซลล์กล้ามเนื้อเกิดการตาย  (necrosis) กุ้งบางตัวมีลักษณะของกล้ามเนื้อเป็นสีคล้ายกุ้งต้ม 

การบำบัดน้ำด้วยแสงยูวี เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ ไร้สารตกค้างจากสารเคมี
แสงยูวีที่ฉายออกจากอุปกรณ์ คือรังสียูวีซี (UVC) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความยาวคลื่น 100-280 นาโนเมตร รังสียูวีซีมีความสามารถในการทำลายเชื้อโรคหรือเรียกว่า Ultraviolet Germicidal Irradiation ซึ่งทำลายเชื้อโรคไม่ว่าจะเป็น แบคทีเรีย ไวรัส ราเส้นใย ยีสต์ เป็นต้น โดยจะทำลายโครงสร้างกรดนิวคลีอิกซึ่งเป็นองค์ประกอบของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอของเชื้อโรคที่ความยาวคลื่น 260-265 นาโนเมตร ซึ่งเป็นความยาวคลื่นที่ดีเอ็นเอของดูดซับได้ดีที่สุด ในธรรมชาติจะไม่พบรังสียูวีซีเนื่องจากรังสีชนิดนี้ไม่สามารถผ่านชั้นโอโซนมายังผิวโลกได้ 

ฟาร์มกุ้งปลอดเชื้อด้วย RASLine Technology

หลังจากที่เราทราบว่าแสงยูวีสามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้อย่างไร จากนั้นเราต้องออกแบบการติดตั้งอุปกรณ์ที่เหมาะสม โดยคำนึงที่การเปลี่ยนถ่ายน้ำในแต่ละกระบวนการ เพราะไวรัสที่ก่อให้กิดโรคมักเดินทางผ่านกระแสน้ำเข้าไปในฟาร์มเลี้ยงกุ้งหรือบ่อพักเลี้ยงจนทำให้เกิดการฟักตัวของเชื้อโรคขึ้น 

เพราะฉะนั้นควรติดตั้งอุปกรณ์ฉายแสงยูวีที่จุดจ่ายน้ำต้นกระบวนการหรือจุดจ่ายน้ำเข้าบ่อพักเลี้ยง เพื่อให้มั่นใจว่าน้ำที่ปล่อยเข้าระบบนั้นสะอาด ไม่มีเชื้อไวรัสที่มากับน้ำ และก่อนนำกุ้งเข้ามาเลี้ยงในระบบควรคัดกรองโรคและกำจัดตัวที่ติดเชื้ออย่างเหมาะสมก็จะทำให้ช่วยลดผลกระทบของไวรัสได้ จากนั้นนำกุ้งที่ผ่านการคัดเลือกแล้วลงมาเลี้ยงยังบ่อที่เตรียมไว้ ระหว่างวันก็ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำ โดยผันน้ำใหม่ผ่านแสงยูวีฆ่าเชื้อก่อนปล่อยน้ำเข้าระบบ เท่านี้ก็จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคได้สูง


บริษัท ดอมนิค (ประเทศไทย) จำกัด เป็นตัวแทนจำหน่าย UV Technology รุ่น RASLine จากแบรนด์ Nuvonic ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานกับอุตสาหกรรมการเกษตร การประมง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดแบคทีเรียและไวรัสในน้ำ เหมาะสำหรับงานเกษตรกรรมและการประมงน้ำจืด ทีมวิศวกรระบบน้ำของเรา ยินดีให้คำปรึกษาทั้งด้านสินค้า การออกแบบระบบ ไปจนถึงการติดตั้ง เพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่า UV Technology จาก Nuvonic ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ