เพื่อให้กระบวนการทำงานภายในโรงงานเป็นไปอย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ และเกิดปัญหาน้อยที่สุด โจทย์สำคัญของผู้ประกอบการคือ ต้องเลือกใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน รวมถึงตรงตามรูปแบบการใช้งานมากที่สุด โดยหนึ่งในอุปกรณ์ที่ว่าก็คือ “ปั๊มลม” โดยในปัจจุบัน มีทั้งปั๊มลมสกรูแบบใช้น้ำมันกับแบบไร้น้ำมันให้เลือก คำถามคือ ผู้ประกอบการต้องเลือกอย่างไรให้ตอบโจทย์ ดังนั้น บทความนี้จึงจะมาเปรียบเทียบปั๊มลมแบบใช้น้ำมัน VS ไร้น้ำมัน ให้เห็นความแตกต่างกันแบบชัด ๆ เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ตามได้ ติดตามได้เลย
ประเภทของปั๊มลม
เพื่อให้เข้าใจว่าปั๊มลมสกรูแบบใช้น้ำมันกับแบบไร้น้ำมันต่างกันอย่างไรได้อย่างชัดเจนและเห็นภาพ อันดับแรก เราจะเริ่มอธิบายกันที่คุณสมบัติของปั๊มลมแต่ละประเภทกันเสียก่อน
ปั๊มลมแบบใช้น้ำมัน
เริ่มต้นกันที่ปั๊มลมแบบใช้น้ำมัน สำหรับประเภทนี้คือปั๊มลมที่มีน้ำมันหล่อลื่นส่วนประกอบภายใน เพื่อลดแรงเสียดทานระหว่างชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว เป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้งานมาอย่างยาวนาน ดังนั้น จึงมีข้อดีหลากหลายประการ ดังต่อไปนี้
- มีประสิทธิภาพสูง
- สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
- มีอายุการใช้งานยาวนาน
อย่างไรก็ตาม ปั๊มลมแบบใช้น้ำมันมีข้อจำกัดที่ต้องคำนึงถึงเช่นกันหากผู้ประกอบการต้องการลงทุนซื้อเครื่องปั๊มลมชนิดนี้มาใช้งาน ดังต่อไปนี้
- ต้องมีการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ เช่น เปลี่ยนถ่ายน้ำมันและซ่อมแซมชิ้นส่วนที่สึกหรอ
- มีความเสี่ยงที่น้ำมันจะรั่วไหลออกมาปนเปื้อนในบางกรณี
ปั๊มลมแบบไร้น้ำมัน
ตรงตามชื่อ “ปั๊มลมแบบไร้น้ำมัน” เนื่องจากปั๊มลมแบบไร้น้ำมันจะไม่ใช้น้ำมันหล่อลื่นเพื่อเป็นพลังในการทำงาน แต่ใช้วัสดุพิเศษที่มีสมบัติเงางามและแข็งแรง เช่น เหล็กกล้าไร้สนิม หรือพอลิเมอร์ชนิดพิเศษเพื่อสร้างแรงขับเคลื่อน ด้วยเหตุนี้ เมื่อเปรียบเทียบปั๊มลมสกรูแบบใช้น้ำมันกับแบบไร้น้ำมัน ประเภทหลังจึงมีข้อดีที่แตกต่างออกไป ดังต่อไปนี้
- ไม่ก่อให้เกิดมลพิษจากการรั่วซึมของน้ำมัน
- ทำความสะอาดง่าย
- เหมาะสำหรับใช้งานในอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภค เนื่องจากไม่มีความเสี่ยงที่จะปนเปื้อนน้ำมัน
แน่นอนว่าเมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสีย ซึ่งปั๊มลมแบบไร้น้ำมันก็มีข้อจำกัดที่ผู้ประกอบการควรรู้ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนเช่นกัน
- มีราคาแพงกว่าแบบใช้น้ำมัน
- มีความทนทานน้อยกว่า เนื่องจากไม่มีน้ำมันหล่อลื่นชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว
ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกใช้
จุดประสงค์ของการนำปั๊มลมแบบใช้น้ำมัน VS ไร้น้ำมันคือ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้ได้อย่างตอบโจทย์และตรงกับสิ่งที่ต้องการ โดยปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงมีดังต่อไปนี้
- ประเภทของงานและขนาดของงาน: เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณา โดยหากต้องการใช้งานในระดับอุตสาหกรรมหนักอย่างต่อเนื่อง ปั๊มลมสกรูแบบใช้น้ำมันจะเหมาะสมกว่า เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงและทนทานต่อการใช้งานหนัก อย่างไรก็ตาม หากเป็นงานขนาดเล็กหรือขนาดกลาง รวมถึงต้องการความสะอาด ปราศจากการปนเปื้อนของน้ำมัน เช่น ธุรกิจผลิตอาหาร ยา หรือโรงพยาบาล ก็ควรเลือกใช้ปั๊มลมแบบไร้น้ำมัน
- แรงดันลมและอัตราการไหลของอากาศ: ปั๊มลมสกรูแบบใช้น้ำมันให้แรงดันลมที่สูงและอัตราการไหลของอากาศสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ปั๊มลมสกรูแบบไร้น้ำมันมักจะเหมาะสำหรับงานที่ต้องการแรงดันลมและอัตราการไหลของอากาศในระดับปานกลางถึงต่ำ
- งบประมาณ: ปั๊มลมสกรูแบบใช้น้ำมันมีราคาที่ถูกกว่า และทนทานสูงกว่า ดังนั้น ถ้าโจทย์คือการใช้งานระยะยาว และไม่ใช่โรงงานสินค้าอุปโภคปั๊มลมสกรูแบบใช้น้ำมันก็ย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ในทางตรงกันข้าม ถ้าเป็นอุตสาหกรรมที่เน้นความสะอาด ปลอดภัย ก็จำเป็นต้องลงทุนกับปั๊มลมสกรูแบบไร้น้ำมัน ถึงแม้จะต้องใช้งบประมาณที่สูงกว่าก็ตาม
บริการเช่าเครื่องปั๊มลมแบบครบครัน คุณภาพดี ต้องที่ Domnick
เมื่อได้ทราบแล้วว่าปั๊มลมสกรูแบบใช้น้ำมันกับแบบไร้น้ำมันมีความแตกต่างกันอย่างไร และควรเลือกใช้แบบไหนให้ตอบโจทย์ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นปั๊มลมสกรูแบบใช้น้ำมันหรือไร้น้ำมัน ถ้าผู้ประกอบการท่านใดต้องการ ก็สามารถใช้บริการเช่าเครื่องปั๊มลมกับ Domnick ได้ เพราะเราคือผู้ผลิตชั้นนำจากอังกฤษ ผู้คิดค้นและจัดจำหน่ายเครื่องอัดอากาศปั๊มลมสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมากว่า 29 ปี ได้นำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยผ่านบริษัท ดอมนิค ฮันเตอร์-อาร์แอล ให้บริการหลังการขายคุณภาพสูง มีการตรวจเช็กอุปกรณ์ให้ลูกค้าทุก ๆ 6 เดือน โดยวิศวกรผู้ชำนาญงาน ตลอดจนมีอะไหล่ และงานซ่อมบำรุงที่รวดเร็วภายใน 48 ชั่วโมง หากสนใจสามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยที่ LINE ID: @Domnick หรือโทร. 02 678 2224
ข้อมูลอ้างอิง:
- Q&A: The need for oil-free compression. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567 จาก https://www.turbomachinerymag.com/view/q-a-the-need-for-oil-free-compression
- Energy efficiency with compressed air. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567 จาก https://www.processingmagazine.com/process-control-automation/instrumentation/article/15586851/energy-efficiency-with-compressed-air