เครื่องอัดอากาศ (Air Compressor) คือ เครื่องมือที่ช่วยในการอัดลมและสร้างลมสะอาดที่มีแรงดันสูง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิตต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ตามรูปแบบหลักการในการผลิตของเครื่องอัดอากาศ
1.เครื่องอัดอากาศแบบไดอะเฟรม (Diaphragm Air Compressor)
เครื่องอัดอากาศที่ใช้หลักการใกล้เคียงกับแบบลูกสูบ แต่มีแผ่นไดอะเฟรมมากั้นอากาศไม่ให้สัมผัสกับลูกสูบ ทำให้ลมไม่สัมผัสกับส่วนที่เป็นโลหะ ลมที่ได้จึงไม่มีการผสมกับน้ำมันหล่อลื่น เป็นเครื่องอัดอากาศที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมเฉพาะด้านที่ต้องการความสะอาดสูง เช่น อุตสาหกรรมยา และอุตสาหกรรมอาหาร
2.เครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบ (Reciprocating Air Compressor)
เครื่องอัดอากาศประเภทนี้ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคอุตสาหกรรม เพราะมีความเหมาะสมในการใช้งาน ทั้งยังมีต้นทุนราคาที่ไม่สูงมากนัก และเคลื่อนย้ายได้ง่ายสะดวกอีกด้วย ซึ่งหลักการทำงานของเครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบจะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนลูกสูบให้เคลื่อนที่ขึ้นลง ก่อให้เกิดแรงดูดและอัดอากาศภายในกระบอกสูบ
3.เครื่องอัดอากาศประเภทสกรู (Screw Air Compressor)
อีกหนึ่งเครื่องอัดอากาศที่ได้รับความนิยมมากในภาคอุตสาหกรรมทั่วไป เพราะมีกำลังการผลิตลมที่มีคุณภาพสูง โดยสามารถจ่ายลมได้ถึง 170 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที และสามารถทำความดันลมได้ถึง 13 บาร์ เลย ซึ่งกระบวนการผลิต คือใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังในการหมุนเพลาสกรู 2 ตัวให้เข้ากัน จนก่อให้เกิดแรงอัดอากาศนั่นเอง
4.เครื่องอัดอากาศประเภทใบพัดเลื่อน (Sliding Vane Rotary Air Compressor)
จุดเด่นของเครื่องอัดอากาศประเภทนี้ คืออากาศที่ออกมานั้นมีแรงดันที่คงมาก เนื่องจากใบพัดเลื่อนมีการหมุนที่เรียบและสม่ำเสมอ ซึ่งเครื่องอัดอากาศนี้จะไม่มีลิ้นหรือวาล์วเปิดปิดพื้นที่จำกัด ทำให้ไวต่อความร้อน สามารถกระจายแรงลมได้ 4 – 100 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที และความดันลมอยู่ที่ 4 – 10 บาร์
5.เครื่องอัดอากาศแบบกังหัน (Redial and axial flow Air Compressor)
เครื่องอัดอากาศที่มีใบพัดกังหันค่อยทำหน้าที่ดูดลมเข้าจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง ตามแกนกังหันที่หมุนด้วยความเร็วสูง ซึ่งอัตราการจ่ายลมก็จะขึ้นอยู่กับความเร็วและลักษณะของใบพัด โดยสามารถกระจายแรงลมได้ตั้งแต่ 170 – 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อนาทีเลยทีเดียว
6.เครื่องอัดอากาศแบบใบพัดหมุน (Roots Air Compressor)
เครื่องอัดอากาศประเภทนี้จะมีใบพัดหมุน 2 ตัว เมื่อโรเตอร์เริ่มทำงานจะทำให้ลมถูกดูดเข้าไปจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่ง โดยอากาศจะไม่ถูกบีบอัดตัวขณะที่ถูกดูดเข้าไป แต่จะมีการอัดตัวตอนอากาศเข้าไปเก็บในถังลม ซึ่งเครื่องอัดอากาศประเภทนี้ต้องใช้ความร้อนและอุณหภูมิที่ดี ทำให้มีต้นทุนในการผลิตที่สูง
ความสำคัญของระบบ Air Compressor ต่อภาคอุตสาหกรรม
ระบบ Air Compressor หรือการทำงานของเครื่องอัดอากาศ ถือเป็นหัวใจสำคัญในกระบวนการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรมเลยก็ว่าได้ เพราะสินค้าหลายประเภทต่างต้องใช้ระบบแรงดันลมที่ต้องมีความสะอาดสูง ปราศจากการปนเปื้อนในอากาศเพื่อนำมาผลิตสินค้าและการทำงานของเครื่องจักร ที่สำคัญการทำงานของระบบ Air Compressor ยังช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมสามารถวางแผนและควบคุมมาตรฐานในกระบวนการผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งยังช่วยควบคุมและลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
เครื่องทำลมแห้ง หรือ Air Dryer สำคัญอย่างไรต่อระบบ Air Compressor
Air Dryer หรือเครื่องทำลมแห้ง คือเครื่องมือจำเป็นที่ต้องติดตั้งควบคู่ไปกับระบบ Air Compressor (เครื่องอัดอากาศ) เพื่อให้ได้ซึ่งลมอัดที่สะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากความชื้น เนื่องจากระบบเครื่องอัดอากาศ หากเปิดใช้งานไปสักระยะหนึ่ง จะทำให้มีปริมาณน้ำและความชื้นที่ปะปนมากับอากาศ ส่งผลให้อากาศหรือลมที่สร้างขึ้นจากระบบลมอัดมีความชื้น แม้ความชื้นเพียงปริมาณน้อยก็อาจทำให้เกิดสนิม และลดปริมาณน้ำมันหล่อลื่นภายในอุปกรณ์ จนก่อให้เกิดความเสียหายและส่งผลต่อประสิทธิภาพรวมในกระบวนการผลิตทั้งหมดได้ เพราะเหตุนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรต้องมีการติดตั้งเครื่องทำลมแห้งควบคู่ไปกับเครื่องอัดอากาศ เพื่อควบคุมประสิทธิภาพสูงสุดในกระบวนการผลิต
เมื่อทราบคำตอบของคำถามที่ว่า เครื่องอัดอากาศมีกี่ประเภทไปแล้ว กับ 6 ประเภทเครื่องอัดอากาศ ที่เราได้รวบรวมมาแนะนำให้ผู้ประกอบการได้รู้จักกัน เพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกมาใช้งานได้อย่างเหมาะสม และสำหรับผู้ประกอบการที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมคุณภาพดี
Domnick คือตัวแทนจำหน่ายแบรนด์ชั้นนำจากอเมริกา จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องอัดอากาศสำหรับอุตสาหกรรมทุกประเภทมากว่า 30 ปี ให้บริการหลังการขายคุณภาพสูง โดยมีการตรวจเช็กอุปกรณ์ให้ลูกค้าทุก ๆ 6 เดือน โดยวิศวกรผู้ชำนาญงานและมีบริการหลังการขาย ทั้งอะไหล่ และบริการซ่อมบำรุงรวดเร็วภายใน 48 ชั่วโมง